อาชีพดารา นักร้อง นักแสดง ถือเป็นอาชีพที่ใครๆ ก็ใฝ่ฝันอยากเข้าไปสัมผัส เพราะในสายตาของคนทั่วไปแล้วมองว่าอาชีพนี้นอกจากจะได้แต่งตัวสวย เป็นผู้นำแฟชั่น เป็นไอดอลของเด็กและเยาวชนแล้วยังมีรายได้ที่งดงามตามมาด้วย
แต่ทว่าในความเป็นจริง อาชีพที่ขายหน้าตา ขายเสียงนั้น แทบไม่มีความจีรังยั่งยืน
เพราะทุกปีจะมีคนที่ใหม่กว่า สดกว่าก้าวขึ้นมาประชันฝีมือบนเวทีแห่งนี้ตลอด สปอตไลต์ที่เคยสาดส่องก็เริ่มจะเปลี่ยนทิศ ดังนั้นเมื่อเริ่มมีชื่อเสียง เริ่มเก็บหอมรอมริบเงินได้ก้อนหนึ่ง บรรดาคนบันเทิงก็นิยมเปิดกิจการเป็นของตนเองเพื่อสร้างหลักประกันความมั่นคงในชีวิตวันข้างหน้าในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปคนบันเทิงมีวิธีคิดในการเลือกประกอบอาชีพที่สองอย่างไร แล้วแต่ละคนประสบความสำเร็จแค่ไหน เป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของแฟนคนบันเทิงอย่างยิ่ง
ในงาน พลังสร้างไทย พลังใจสร้างอาชีพ ที่ M-150 ได้จัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้เพื่อช่วยลดวิกฤตคนว่างงาน จึงไม่เพียงแต่จัดพื้นที่ส่วนหนึ่งให้กับสินค้าโอท็อปทั่วประเทศนำสินค้ามาร่วมแสดงแล้วยังกันพื้นที่ส่วนหนึ่งให้กับเหล่านักร้อง นักแสดง ที่ได้ประกอบอาชีพอิสระมาร่วมออกบูทประชันลีลาการผลิตสินค้าและขายสินค้า เรียกให้ผู้สนใจอยากกระทบไหล่คนบันเทิงกันแบบใกล้ชิดได้เดินเข้ามาร่วมงาน
นานๆ คนบันเทิงจะได้มีโอกาสมารวมตัวกันออกร้าน งานนี้จึงมีทั้งผู้ที่ใคร่ชิมสินค้า ผู้ที่ใคร่ถ่ายรูปพูดคุยกับดารา และผู้ที่สนใจอาชีพอิสระเข้าไปร่วมงานอย่างคึกคัก
วีเจ จ๋า-ไอศกรีมโอลูรี่
ร้านแรกไอศกรีม "โอลูรี่" ชื่อร้านเป็นภาษาฮาวาย เจ้าของไม่ใช่ใครอื่น เป็นของ VJ จ๋า "ณัฐฐาวีรานุช ทองมี"
ความหมายของชื่อร้าน คือ การเขย่า (shake) เหมือนกับการผสมเครื่องดื่มนั่นเอง
"จ๋า" บอกว่า "ชีวิตคนเราอะไรๆ ก็เกิดขึ้นได้ วันนี้มีเงินพรุ่งนี้ก็อาจจะหมดได้ เราจึงต้องพยายามหาเส้นทางที่ทำให้ตัวเองอยู่รอดให้ได้"
ข้อคิดง่ายๆ แต่ได้ใจของสาว "จ๋า" บอกเล่าถึงที่มาที่ไปของการก้าวเข้ามาจับธุรกิจนี้ได้อย่างชัดเจน
แต่อย่างไรก็ตาม "จ๋า" ยังบอกอีกว่า "ช่วงเศรษฐกิจอย่างนี้ ร้านโอลูรี่ ก็ได้รับผลกระทบบ้างแต่ไม่มากนัก เพราะคนมีการใช้จ่ายน้อยลงแต่สินค้าประเภทอาหารเครื่องดื่มมีราคาไม่แพงมาก เรียกว่าราคาน่ารักๆ พอคุยกันจึงทำให้คนมีการจับจ่ายใช้สอยอยู่เรื่อยๆ"
"ร้านโอลูรี่" มีไอศกรีมหลากหลายรสที่บางส่วนมีการดัดแปลงสูตรมาทำบ้าง บางสูตรทาง "ร้านโอลูรี่" ก็มีการคิดค้นขึ้นเองด้วย อย่างเช่น สูตรสตรอว์เบอร์รี่สมูทตี้ แต่ที่เด็ดสุดของร้านนี้ที่แนะนำผ่านประชาชาติธุรกิจมา คือ ไอศกรีมโมจิ สีสวยน่ารัก เรียกว่าอร่อยแบบ VJ จ๋า ต้องที่โอลูรี่เท่านั้น
หนุ่มแทน-ลูกชิ้นดาวร้าย
มาถึงร้านที่สองใช้ชื่อแบรนด์แบบบู๊ๆ ว่า "ลูกชิ้นดาวร้าย" เป็นของ ฐิติ พุ่มอ่อน หรือ "หนุ่มแทน" ดาวร้ายหน้าหล่อที่มีอีกด้านที่น่ารักเหมือนกัน
"แทน" บอกว่า "แบรนด์ลูกชิ้นดาวร้ายทำมาได้เกือบ 2 ปี ทุกวันนี้คนเริ่มรู้จักกันมากขึ้น สาเหตุที่มีลูกชิ้นดาวร้ายก็เพราะ เห็นว่ามี "ลูกชิ้นปู-เด๋อ" ก็เลยลองทำลูกชิ้นดาวร้ายขึ้นมาบ้าง" ช่างเป็นชื่อร้านที่เหมาะเจาะกับรูปลักษณ์ของเจ้าของร้านมากเลย
"แทน" บอกถึงความพิเศษของลูกชิ้นดาวร้ายที่โดดเด่นแตกต่างจากยี่ห้ออื่นๆ ว่า เป็นลูกชิ้นที่ชาวมุสลิมสามารถซื้อทานได้ด้วย และถ้าจะทานให้อร่อยมีสูตรว่าต้องทานคู่กับน้ำจิ้มนางเอกของทางร้าน ที่สำคัญลูกชิ้นดาวร้ายใช้วัตถุดิบอย่างดีไม่มีผสมแป้งเพื่อลดต้นทุน
"แทน" แอบกระซิบบอกว่า น้ำจิ้มของลูกชิ้นดาวร้ายได้รวมนางเอกไว้ครบทุกรส ทั้งรสหวาน รสเปรี้ยว รสเผ็ด ดังนั้นจึงเป็นสูตรเด็ดที่อร่อยไม่เหมือนใคร
ติ๊ก ชีโร่-โดนัท โด ดี โด
ร้านที่สาม อร่อยแบบหวานๆ กับร้าน "โดนัท โด ดี โด" โดนัทแป้งดีของนักร้องหนุ่มอารมณ์ดี โต้ ชีริ๊ก "ติ๊ก ชีโร่"
ร้านนี้เจ้าของร้านเลือกใช้โทนสีเขียวเป็นสัญลักษณ์ ทุกครั้งที่ต้องไปยืนเป็นพรีเซ็นเตอร์หน้าร้าน ติ๊ก ชีโร่ จึงต้องใส่สีเขียวทั้งชุด เพื่อให้กลมกลืน ทั้งกล่อง ทั้งถุงใส่ขนมร้านนี้ก็ยังใช้กระดาษเป็นสีเขียว ไม่ต้องพูดถึงพนักงานขายหน้าร้านอย่างไรหนีไม่พ้นต้องแต่งองค์ทรงเครื่องด้วยชุดเสื้อสีเขียว
เรียกว่าเขียวทั้งร้าน เพราะคอนเซ็ปต์เขาวางไว้อย่างนี้
"ติ๊ก ชีโร่" ให้เหตุผลแบบอินเทรนด์ว่า เพื่อร่วมด้วยช่วยกันรณรงค์ลดภาวะโลกร้อนที่กำลังเป็นปัญหามาแรงจึงนำเสนอทุกอย่างเป็นแพ็กเกจสีเขียว
โดนัทแบรนด์โด ดี โดนี้ถือเป็นอีกธุรกิจที่ประสบความสำเร็จค่อนข้างสูง เพราะเปิดมายังไม่ถึงปี ปัจจุบันมีทั้งหมดเกือบ 10 แห่ง โดยไม่ได้ขายแฟรนไชส์ให้กับที่อื่น เรียกว่าเงินทุกบาททุกสตางค์ที่ได้จากการขายสินค้าเข้ากระเป๋าพี่ติ๊กคนเดียว
ติ๊กเล่าให้ฟังว่า โดนัทในร้านเป็นสูตรที่คิดขึ้นมาเองเพราะเห็นว่าคนเดี๋ยวนี้เริ่มรักษาสุขภาพของตัวเองแล้วหันมาใส่ใจกับเรื่องของอาหารการกินกันมากขึ้น ทางร้านจึงเลือกใช้สูตรแป้งที่มีน้ำตาลน้อย (low sugar) เพื่อตอบโจทย์สาวๆ ที่ห่วงรูปร่างของตัวเองก็สามารถทานได้อย่างสบายหายห่วง โดยมีเมนูให้เลือก 40 กว่ารสชาติ แต่รสชาติที่ฮิตที่สุดพนักงานขายหน้าร้านกระซิบบอกมา คือ โดนัทตุ๊กตาหน้ายิ้ม และเค้กแยมจุด ที่เห็นเป็นรูปการ์ตูนติดอยู่ที่ถุงใส่ขนม และสิ่งหนึ่งที่ทำให้คนเลือกเดินเข้าร้านโดนัท โด ดี โด กันอย่างเนืองแน่นก็เพราะสินค้าของร้านแห่งนี้ผลิตกันใหม่สดทุกวัน การันตีว่าไม่มีของค้างคืน
ใครอยากลิ้มรสโดนัทในสไตล์ช่วยลดโลกร้อนว่าเป็นอย่างไร ก็แวะกันไปได้ที่ร้าน "โดนัท โด ดี โด" ที่กระจายอยู่ทั่วกรุงเทพฯ ทั้งแฟชั่นไอส์แลนด์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม และที่อื่นๆ อีกมากมาย
หนุ่มเอ-ปลาดุกฟู
เดินมาถึงร้านที่สี่ ไม่แวะก็คงไม่ได้ ร้านนี้เป็นของ "หนุ่มเอ เชิญยิ้ม" ขายยำปลาดุกฟู ตั้งชื่อร้านแบบน่ารักๆ ว่า "ฟู๊ ฟู เอเชิญยิ้ม"
กรรมวิธีในการทำยำปลาดุกฟูดูเหมือนจะง่ายๆ แต่หนุ่มเอบอกว่าไม่หมูเหมือนกัน กว่าจะได้อาหารรสเลิศมาเสิร์ฟผู้บริโภคต้องคัดปลาอย่างดีนำมาต้มจนสุกแล้วลอกเอาเฉพาะเนื้อของปลาแล้วนำมาปั่นให้ละเอียดจนเข้ากันดีแล้ว จากนั้นนำมาทอดในน้ำมันที่เดือดจนเหลืองกรอบ ซึ่งที่ร้านจะใช้เนื้อปลาล้วนๆ ไม่ผสมแป้งจึงมีความกรอบนอกนุ่มใน เวลาทานเข้าไปแล้วจะเหมือนเส้นสายไหมที่เป็นขนมหวาน
เรียกว่ากว่าจะมาเป็นยำปลาดุก ฟู๊ ฟู ได้ก็ผ่านประสบการณ์มาอย่างโชกโชน เสียปลาดุกฟรีไปหลายกิโลกรัม เพราะครั้งแรกที่ทำออกมาหน้าตาเป็นยำปลาดุกแฟบ ต้องพัฒนาสูตรกันอยู่นาน พยายามหากรรมวิธีจนกลายมาเป็นยำปลาดุกฟูในแบบที่น่ารับประทานเช่นปัจจุบัน
หลายวันอาจจะยังไม่รู้ว่า ทำไมหนอหนุ่มเอจึงเลือกขายปลาดุกฟู มันอินเทรนด์ ตรงไหน เมื่อสอบถามพนักงานได้รับคำตอบว่า การที่หนุ่ม "เอ" เลือกทำยำปลาดุกเพราะส่วนหนึ่งเป็นคนอิสลาม เห็นหน้าตาหล่อตี๋แบบนี้ไม่บอกไม่รู้เลยนะนี่ว่ามีเชื้อ
จะว่าไปแล้วตอนนี้ฟู๊ ฟูก็เฟื่องฟูไม่น้อยกว่าธุรกิจของคนบันเทิงคนอื่นๆ เพราะมีร้านแฟรนไชส์ถึง 10 แห่งแล้ว แถมยังมีรับจัดงานเลี้ยงนอกสถานที่อีกด้วย
ตี๋ ดอกสะเดา-ไอศกรีมทอด
ร้านที่ห้า เห็นแล้วต้องแปลกใจ แค่ชื่อร้าน "ไอศกรีมทอด ตี๋ ดอกสะเดา" ก็ทำให้คนที่เดินผ่านไปผ่านมาตั้งคำถามแล้วว่า หน้าตามันเป็นอย่างไร ยิ่งเห็นคำเชิญชวนที่ว่า อร่อยขึ้นตา มีให้เลือก 5 รสชาติ ยิ่งเพิ่มข้อสังสัยต้องเดินเข้าไปสอบถาม
"หนุ่มตี๋" คุยด้วยน้ำเสียงที่เป็นกันเองว่า ทำตรงนี้มาได้ 2 ปีแล้ว ธุรกิจมีขึ้นมีลงบ้างตามสภาพเศรษฐกิจของสังคม แต่ก็พออยู่ได้ในระดับหนึ่ง ตอนนี้มีแฟรนไชส์ทั้งหมด 167 แห่งกระจายอยู่ทั่วประเทศทั้งในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ต่างจังหวัด โดยเน้นเจาะกลุ่มลูกค้าทั้งเด็กและผู้ใหญ่
และที่เลือกทำธุรกิจนี้เพราะเห็นว่าคนส่วนใหญ่ชอบทานของแปลก ไอศกรีมเย็นๆ ทอดในความร้อนที่สูงแต่ไม่ละลาย ถือเป็นของหวานอีกชนิดที่ช่วยคลายร้อนได้ดี
เมื่อถามของเรื่องอุปสรรคในการทำงาน "หนุ่มตี๋" บอกว่าก็มีบ้าง อย่างเช่นปัญหาการเจาะตลาดหรือแหล่งที่ขายว่าจะทำอย่างไรให้สินค้าเป็นที่รู้จักของตลาด
"หนุ่มตี๋" แม้จะเลือกอาชีพตลกเป็นอาชีพหลัก แต่ชีวิตจริงที่ไม่สามารถเรียกเสียงหัวเราะได้ตลอดเวลา เขาจึงต้องหาอาชีพเสริมเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับชีวิตอีกทางหนึ่ง
จอน ม๊กจ๊ก-น้ำพริกสู้ชีวิต
ร้านที่หก ไม่ลองไม่รู้กับ น้ำพริกสู้ชีวิต ของตลกสาวแคระสู้ชีวิต จอน ม๊กจ๊ก ลิ้มรสแล้วอร่อยไม่แพ้เจ้าอื่น
ถ้าจะพูดถึงชีวิตของหญิงเหล็กคนหนึ่งที่เศร้าและทุกข์ไม่แพ้เรื่องราวในละครไทย แต่เธอก็ไม่เคยท้อกับชีวิตที่บางครั้งต้องนั่งร้องไห้เสียใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะสุดท้ายเธอเลือกที่จะให้กำลังใจตัวเองด้วยการลุกขึ้นสู้ใหม่เสมอ
แม้ในสายตาหลายคนจะมองเธอว่าเป็นตลกตกอับ แต่ "จอน" บอกว่า "ไม่ใส่ใจกับคำพูดเหล่านั้นแต่พยายามทำทุกอย่างด้วยน้ำพักน้ำแรงที่ตัวเองมี เพราะสิ่งที่ทำอยู่มันไม่ใช่การตกอับแต่มันเป็นเรื่องของการสร้างอาชีพเสริมให้กับตัวเอง หากพรุ่งนี้ไม่มีงานตลก แต่ก็ยังมีน้ำพริกให้ขาย ที่สำคัญสิ่งที่ทำไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อนทุกการกระทำ ทุกความตั้งใจเพื่อความอยู่รอดเหมือนกับทุกๆ ชีวิตในสังคม"
"จอน" บอกว่า ทำ "น้ำพริกสู้ชีวิต" มาได้ 2 ปีกว่าแล้ว ชีวิตพออยู่ได้ ที่สำคัญยังได้กำลังใจดีๆ จากคนรอบข้างเสมอ การทำน้ำพริกตอนนี้ก็ไม่ลำบากมากเพราะมีลูกมือช่วยทำ 2-3 คน เป็นน้ำพริกที่ไม่ผสมสารกันบูด คิดเอง ทำเอง ทุกขั้นตอน
อิทธิ พลางกูร-ไก่ทอดเก็บตะวัน
ร้านที่เจ็ด อิ่มอร่อยแบบทอดๆ กับ "รานไก่ทอดเก็บตะวัน ของ ครอบครัวอิทธิ พลางกูร
แค่เห็นชื่อร้านไก่ทอดก็ต้องนึกถึงเพลงเก็บตะวันที่พี่อิทธิ พลางกูร เคยร้องเอาไว้ เพราะเพลงนี้ไม่เพียงแต่มีเนื้อหากินใจ เสียงของนักร้องยังมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ทำให้ผู้ฟังอินทุกครั้งที่เสียงเพลงนี้ลอยมาตามสายลม
ครอบครัวของคุณอิทธิ พลางกูร บอกว่า "ไก่ทอดเก็บตะวันทำผ่านมาได้ 1 ปีแล้ว เหตุผลที่เลือกทำไก่ทอดเก็บตะวันเพราะทางครอบครัวชอบทานไก่ทอดเป็นอาหารหลักของบ้าน เมื่อก่อนเวลาเดินทางไปไหนก็จะมีข้าวเหนียวไก่ทอดไปทานด้วยทุกครั้งแล้วก็อยากจะแบ่งปันความอร่อยให้กับคนอื่นบ้าง"
ในวันที่คิดจะเปิดกิจการนี้ก็มานั่งคิดกันว่าจะตั้งชื่อร้านว่าอะไรดี สุดท้ายก็มาสรุปที่ร้านไก่ทอดเก็บตะวัน ซึ่งอิทธิ พลางกูร เป็นคนตั้งเอง ซึ่งทางร้านก็ไม่ได้มีแค่ไก่ทอดเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ยังมีปูจ๊อ หอยจ๊อ ปูจ๋า กุ้งพันอ้อย และเร็วๆ นี้จะออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ชื่อว่า "น้ำพริกยังจำไว้" ซึ่งเป็นสูตรเฉพาะของครอบครัวพลางกูร ไม่ใส่ผงชูรสและสารกันบูด
เจ้าของร้านบอกว่า ร้านนี้ไม่เหมือนร้านไก่สูตรอื่นๆ เพราะใช้สูตรพิเศษในการหมักไก่ทำให้รสชาติดี
ถ้าใครติดใจรสชาติก็ต้องคอยติดตามข่าวอย่างใกล้ชิด เพราะร้านนี้ไม่เพียงแต่ไม่มีแฟรนไชส์ ไม่มีสาขาแล้ว ยังไม่ได้เปิดขายเป็นประจำทุกวัน แต่จะเปิดเฉพาะในช่วงออกงานต่างๆ เท่านั้น
ตาโย่ง-น้ำพริก ร้านที่แปด อร่อยแบบไทยๆ กับ น้ำพริกตาโย่ง
แค่ได้ยินชื่อน้ำพริก หน้าของตลกโย่ง ก็ลอยมาทันที
น้ำพริกตาโย่งเป็นอย่างไร น้าโย่งบอกว่า "น้ำพริกแบรนด์นี้ทำมาได้เกือบ 8 ปีแล้ว เริ่มจากที่ตอนแรกก็ทำอาชีพตลกเพียงอย่างเดียว แต่ก็เริ่มมาคิดได้ว่าวันนี้มีคนดูเรา แต่วันพรุ่งนี้อาจจะไม่มีคนดูก็ได้ เพราะชีวิตคนเราไม่มีอะไรที่ยั่งยืนจึงคิดทำธุรกิจเสริม แต่ตอนแรกก็ไม่รู้ว่าจะทำอะไรดี แต่ก็พยายามคิดจากสิ่งที่มีที่ทำอยู่ในชีวิตประจำวัน และด้วยความที่บ้านทำน้ำพริกอร่อย ประกอบกับตัวเองชอบรับประทานน้ำพริกอยู่แล้ว บางครั้งก็ห่อไปรับประทานที่ทำงานแล้วก็แบ่งปันให้กับเพื่อนๆ ที่ทำงานรับประทานด้วย หลายๆ คนก็ชมว่าอร่อยก็เลยคิดขึ้นมาได้เลยว่าน่าจะลองทำน้ำพริกดู
ถ้าใครชอบรับประทานน้ำพริกจะรู้ว่าในท้องตลาดนั้นมีแต่น้ำพริกของยอดคุณแม่ทั้งนั้น ทั้งแม่ประนอม แม่บุญเรือง พอน้ำพริกตาโย่งออกมาเปิดตลาด หลายคนจึงอยากลิ้มชิมรสดูสักครั้ง
น้าโย่งบอกว่า น้ำพริกนี้เป็นน้ำพริกผู้ชายรายแรกของไทยถึงแม้จะมีแบรนด์อื่นตามมาก็ตาม แต่จนถึงทุกวันนี้แม้จะเจอกับพิษเศรษฐกิจบ้างก็ไม่ได้รับผลกระทบ มากมายเพราะเป็นธุรกิจขนาดย่อมที่มีการลงทุนไม่มาก แต่ก็ต้องขยันมากขึ้นเพื่อให้อยู่ได้ แถมยังได้ลูกสาวสุดที่รักมาช่วยดูแลในเรื่องของการตลาดด้วยจึงทำให้ทั่วทุกภาคของไทยมีน้ำพริกตาโย่งขายอยู่ทั่ว
และที่น่าสนใจคือ ตอนนี้มีถึงสิบสูตรเป็นสูตรที่คิดเองทำเองจากคนที่บ้าน ตอนแรกก็ใช้พื้นที่ที่บ้านทำแต่ก็เริ่มขยับขยายจนตอนนี้ต้องผลิตในโรงงาน ตอนแรกที่ทำคิดแค่ว่าคงจะขายได้ หรือขายได้เพราะหน้าตา ชื่อเสียง ที่อยู่ข้างกระปุก แต่เมื่อคนซื้อกลับมาซื้ออีกครั้งที่ 2-3 เราก็รู้สึกชื่นใจว่าของเราก็ยังอร่อย
สำหรับอาชีพตลกน้าโย่งบอกว่า ก็ยังรักไม่เปลี่ยนเพราะน้าโย่งรักในสิ่งที่เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ชีวิตมีอย่างทุกวันนี้ เรื่องเงินไม่สำคัญขอให้ได้เล่นตลกให้คนหัวเราะมีความสุขเป็นใช้ได้
ลูกชิ้นหมู ปู + เด๋อ
ร้านที่เก้า ชื่อนี้แทบไม่มีใครรู้จัก เดินไปตลาดไหนก็เจอ ลูกชิ้นหมู ปู + เด๋อ
จุดเริ่มต้นของ "ลูกชิ้นหมู ปู + เด๋อ" กล่าวขานกันว่า มาจากในช่วงตั้งครรภ์ "ปู" (กนกวรรณ บุรานนท์) ว่างไม่ได้รับงานแสดงหรือโชว์ตัวใดๆ ทำให้เกิดความคิดที่ต้องการจะมีอาชีพอื่นเพื่อรองรับอาชีพนักแสดงที่อาจจะลดน้อยลงในอนาคต ซึ่งการที่เลือกขายลูกชิ้นมาจากในช่วงงานกาชาดทุกปีจะเชิญนักแสดงไปร่วมออกบูทขายสินค้าเพื่อสร้างสีสันให้กับงาน และในปีนั้นได้เลือกขายลูกชิ้นปรากฏว่าสามารถสร้างรายได้เป็นอย่างดี
จากจุดตรงนี้เองที่เป็นตัวจุดประกายให้เกิดธุรกิจลูกชิ้นหมู ปู + เด๋อ ที่ได้รับความนิยมในวันนี้
"ลูกชิ้นที่นำมาขายช่วงแรกนั้นรับมาขายอีกที่หนึ่งยังไม่ได้ทำเองเหมือนในปัจจุบัน ส่วนสูตรในการทำก็พยายามพัฒนาและลองผิดลองถูกด้วยตัวเองได้สูตรอะไรมาก็ทดลองทำหมด หมูหมดไปหลายกิโลเหมือนกันกว่าจะได้ "ลูกชิ้นหมู ปู + เด๋อ" ที่จำหน่ายอยู่ในปัจจุบัน เจ้าของร้านเล่าให้ฟังและบอกต่ออีกว่า ทาง "ปู" และ "คุณเด๋อ" ตั้งใจไว้ว่าจะยึดธุรกิจนี้เป็นอาชีพหลักต่อไปจนถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน เพราะการเป็นนักแสดงไม่สามารถสืบทอดต่อไปจนถึงรุ่นลูกได้ แต่การสร้างธุรกิจของเราเองสามารถสร้างอาชีพให้แก่ลูกต่อไปได้ในอนาคต
จุดเริ่มต้นในตอนแรกแม้ว่าจะเหนื่อยมาก ทั้ง "ปู" และ "คุณเด๋อ" เพราะทั้งคู่มักจะออกมาขายและแนะนำสินค้าด้วยตัวเองเสมอ เพื่อให้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป แต่ทั้งสองคนก็ยังได้เปรียบคนอื่นๆ ตรงที่เป็นนักแสดงทำให้ได้รับความสนใจจากลูกค้า ทั่วทุกสารทิศ หลังจากลูกค้าคนหนึ่งได้ชิมก็บอกต่อ แล้วมีการกลับมาซื้อครั้งที่สอง ครั้งที่สาม ยอดขายจึงพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว
แม้ว่าความเป็นดารา นักแสดงจะเป็นปัจจัยส่วนหนึ่งที่ทำให้การขายสินค้าขยายตัวอย่างรวดเร็ว แต่ปูกับเด๋อก็เชื่อว่าสุดท้ายสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับการทำธุรกิจอาหาร คือ ความใส่ใจในรสชาติ และขั้นตอนการผลิต เพราะอยากให้ลูกค้าได้สิ่งที่ดีที่สุด
ถั่วแระ เชิญยิ้ม-ก๋วยเตี๋ยวต้มยำ
มากันที่ร้านสุดท้าย ร้านก๋วยเตี๋ยวต้มยำของนายกสมาคมตลกอย่าง ถั่วแระ เชิญยิ้ม ที่ขายหมดก่อนใครเพื่อน แสดงว่าของเขาดีจริงๆ ไม่รู้ว่าหนุ่มเคราแพะ ถั่วแระ เชิญยิ้ม ใช้สูตรพิเศษอะไรในการทำน้ำซุปถึงขายดีเป็นเทน้ำเทท่า หรือว่ามีคาถาดีเรียกคนเข้าร้าน
หลังจากเดินสำรวจแล้วพบแต่ตู้เปล่าๆ เลยหมดโอกาสหาคำตอบมาฝากผู้อ่าน เอาไว้คราวหน้าปะหน้าถั่วแระจะรีบไขปริศนานี้ทันที
ทั้งหมดคือตัวอย่างของ "คนบันเทิง" ที่ไม่ได้ติดอยู่กับความรุ่งโรจน์ในปัจจุบัน แต่มองไปถึงอนาคตว่าจะอยู่อย่างไรอย่างมั่นคงและมีความสุข
อาชีพอิสระที่เหล่าคนบันเทิงเลือกทำจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกหรือแผนสำรองในการใช้ชีวิตที่ตั้งอยู่บนความไม่แน่นอน
แต่ทว่าในความเป็นจริง อาชีพที่ขายหน้าตา ขายเสียงนั้น แทบไม่มีความจีรังยั่งยืน
เพราะทุกปีจะมีคนที่ใหม่กว่า สดกว่าก้าวขึ้นมาประชันฝีมือบนเวทีแห่งนี้ตลอด สปอตไลต์ที่เคยสาดส่องก็เริ่มจะเปลี่ยนทิศ ดังนั้นเมื่อเริ่มมีชื่อเสียง เริ่มเก็บหอมรอมริบเงินได้ก้อนหนึ่ง บรรดาคนบันเทิงก็นิยมเปิดกิจการเป็นของตนเองเพื่อสร้างหลักประกันความมั่นคงในชีวิตวันข้างหน้าในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปคนบันเทิงมีวิธีคิดในการเลือกประกอบอาชีพที่สองอย่างไร แล้วแต่ละคนประสบความสำเร็จแค่ไหน เป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของแฟนคนบันเทิงอย่างยิ่ง
ในงาน พลังสร้างไทย พลังใจสร้างอาชีพ ที่ M-150 ได้จัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้เพื่อช่วยลดวิกฤตคนว่างงาน จึงไม่เพียงแต่จัดพื้นที่ส่วนหนึ่งให้กับสินค้าโอท็อปทั่วประเทศนำสินค้ามาร่วมแสดงแล้วยังกันพื้นที่ส่วนหนึ่งให้กับเหล่านักร้อง นักแสดง ที่ได้ประกอบอาชีพอิสระมาร่วมออกบูทประชันลีลาการผลิตสินค้าและขายสินค้า เรียกให้ผู้สนใจอยากกระทบไหล่คนบันเทิงกันแบบใกล้ชิดได้เดินเข้ามาร่วมงาน
นานๆ คนบันเทิงจะได้มีโอกาสมารวมตัวกันออกร้าน งานนี้จึงมีทั้งผู้ที่ใคร่ชิมสินค้า ผู้ที่ใคร่ถ่ายรูปพูดคุยกับดารา และผู้ที่สนใจอาชีพอิสระเข้าไปร่วมงานอย่างคึกคัก
วีเจ จ๋า-ไอศกรีมโอลูรี่
ร้านแรกไอศกรีม "โอลูรี่" ชื่อร้านเป็นภาษาฮาวาย เจ้าของไม่ใช่ใครอื่น เป็นของ VJ จ๋า "ณัฐฐาวีรานุช ทองมี"
ความหมายของชื่อร้าน คือ การเขย่า (shake) เหมือนกับการผสมเครื่องดื่มนั่นเอง
"จ๋า" บอกว่า "ชีวิตคนเราอะไรๆ ก็เกิดขึ้นได้ วันนี้มีเงินพรุ่งนี้ก็อาจจะหมดได้ เราจึงต้องพยายามหาเส้นทางที่ทำให้ตัวเองอยู่รอดให้ได้"
ข้อคิดง่ายๆ แต่ได้ใจของสาว "จ๋า" บอกเล่าถึงที่มาที่ไปของการก้าวเข้ามาจับธุรกิจนี้ได้อย่างชัดเจน
แต่อย่างไรก็ตาม "จ๋า" ยังบอกอีกว่า "ช่วงเศรษฐกิจอย่างนี้ ร้านโอลูรี่ ก็ได้รับผลกระทบบ้างแต่ไม่มากนัก เพราะคนมีการใช้จ่ายน้อยลงแต่สินค้าประเภทอาหารเครื่องดื่มมีราคาไม่แพงมาก เรียกว่าราคาน่ารักๆ พอคุยกันจึงทำให้คนมีการจับจ่ายใช้สอยอยู่เรื่อยๆ"
"ร้านโอลูรี่" มีไอศกรีมหลากหลายรสที่บางส่วนมีการดัดแปลงสูตรมาทำบ้าง บางสูตรทาง "ร้านโอลูรี่" ก็มีการคิดค้นขึ้นเองด้วย อย่างเช่น สูตรสตรอว์เบอร์รี่สมูทตี้ แต่ที่เด็ดสุดของร้านนี้ที่แนะนำผ่านประชาชาติธุรกิจมา คือ ไอศกรีมโมจิ สีสวยน่ารัก เรียกว่าอร่อยแบบ VJ จ๋า ต้องที่โอลูรี่เท่านั้น
หนุ่มแทน-ลูกชิ้นดาวร้าย
มาถึงร้านที่สองใช้ชื่อแบรนด์แบบบู๊ๆ ว่า "ลูกชิ้นดาวร้าย" เป็นของ ฐิติ พุ่มอ่อน หรือ "หนุ่มแทน" ดาวร้ายหน้าหล่อที่มีอีกด้านที่น่ารักเหมือนกัน
"แทน" บอกว่า "แบรนด์ลูกชิ้นดาวร้ายทำมาได้เกือบ 2 ปี ทุกวันนี้คนเริ่มรู้จักกันมากขึ้น สาเหตุที่มีลูกชิ้นดาวร้ายก็เพราะ เห็นว่ามี "ลูกชิ้นปู-เด๋อ" ก็เลยลองทำลูกชิ้นดาวร้ายขึ้นมาบ้าง" ช่างเป็นชื่อร้านที่เหมาะเจาะกับรูปลักษณ์ของเจ้าของร้านมากเลย
"แทน" บอกถึงความพิเศษของลูกชิ้นดาวร้ายที่โดดเด่นแตกต่างจากยี่ห้ออื่นๆ ว่า เป็นลูกชิ้นที่ชาวมุสลิมสามารถซื้อทานได้ด้วย และถ้าจะทานให้อร่อยมีสูตรว่าต้องทานคู่กับน้ำจิ้มนางเอกของทางร้าน ที่สำคัญลูกชิ้นดาวร้ายใช้วัตถุดิบอย่างดีไม่มีผสมแป้งเพื่อลดต้นทุน
"แทน" แอบกระซิบบอกว่า น้ำจิ้มของลูกชิ้นดาวร้ายได้รวมนางเอกไว้ครบทุกรส ทั้งรสหวาน รสเปรี้ยว รสเผ็ด ดังนั้นจึงเป็นสูตรเด็ดที่อร่อยไม่เหมือนใคร
ติ๊ก ชีโร่-โดนัท โด ดี โด
ร้านที่สาม อร่อยแบบหวานๆ กับร้าน "โดนัท โด ดี โด" โดนัทแป้งดีของนักร้องหนุ่มอารมณ์ดี โต้ ชีริ๊ก "ติ๊ก ชีโร่"
ร้านนี้เจ้าของร้านเลือกใช้โทนสีเขียวเป็นสัญลักษณ์ ทุกครั้งที่ต้องไปยืนเป็นพรีเซ็นเตอร์หน้าร้าน ติ๊ก ชีโร่ จึงต้องใส่สีเขียวทั้งชุด เพื่อให้กลมกลืน ทั้งกล่อง ทั้งถุงใส่ขนมร้านนี้ก็ยังใช้กระดาษเป็นสีเขียว ไม่ต้องพูดถึงพนักงานขายหน้าร้านอย่างไรหนีไม่พ้นต้องแต่งองค์ทรงเครื่องด้วยชุดเสื้อสีเขียว
เรียกว่าเขียวทั้งร้าน เพราะคอนเซ็ปต์เขาวางไว้อย่างนี้
"ติ๊ก ชีโร่" ให้เหตุผลแบบอินเทรนด์ว่า เพื่อร่วมด้วยช่วยกันรณรงค์ลดภาวะโลกร้อนที่กำลังเป็นปัญหามาแรงจึงนำเสนอทุกอย่างเป็นแพ็กเกจสีเขียว
โดนัทแบรนด์โด ดี โดนี้ถือเป็นอีกธุรกิจที่ประสบความสำเร็จค่อนข้างสูง เพราะเปิดมายังไม่ถึงปี ปัจจุบันมีทั้งหมดเกือบ 10 แห่ง โดยไม่ได้ขายแฟรนไชส์ให้กับที่อื่น เรียกว่าเงินทุกบาททุกสตางค์ที่ได้จากการขายสินค้าเข้ากระเป๋าพี่ติ๊กคนเดียว
ติ๊กเล่าให้ฟังว่า โดนัทในร้านเป็นสูตรที่คิดขึ้นมาเองเพราะเห็นว่าคนเดี๋ยวนี้เริ่มรักษาสุขภาพของตัวเองแล้วหันมาใส่ใจกับเรื่องของอาหารการกินกันมากขึ้น ทางร้านจึงเลือกใช้สูตรแป้งที่มีน้ำตาลน้อย (low sugar) เพื่อตอบโจทย์สาวๆ ที่ห่วงรูปร่างของตัวเองก็สามารถทานได้อย่างสบายหายห่วง โดยมีเมนูให้เลือก 40 กว่ารสชาติ แต่รสชาติที่ฮิตที่สุดพนักงานขายหน้าร้านกระซิบบอกมา คือ โดนัทตุ๊กตาหน้ายิ้ม และเค้กแยมจุด ที่เห็นเป็นรูปการ์ตูนติดอยู่ที่ถุงใส่ขนม และสิ่งหนึ่งที่ทำให้คนเลือกเดินเข้าร้านโดนัท โด ดี โด กันอย่างเนืองแน่นก็เพราะสินค้าของร้านแห่งนี้ผลิตกันใหม่สดทุกวัน การันตีว่าไม่มีของค้างคืน
ใครอยากลิ้มรสโดนัทในสไตล์ช่วยลดโลกร้อนว่าเป็นอย่างไร ก็แวะกันไปได้ที่ร้าน "โดนัท โด ดี โด" ที่กระจายอยู่ทั่วกรุงเทพฯ ทั้งแฟชั่นไอส์แลนด์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม และที่อื่นๆ อีกมากมาย
หนุ่มเอ-ปลาดุกฟู
เดินมาถึงร้านที่สี่ ไม่แวะก็คงไม่ได้ ร้านนี้เป็นของ "หนุ่มเอ เชิญยิ้ม" ขายยำปลาดุกฟู ตั้งชื่อร้านแบบน่ารักๆ ว่า "ฟู๊ ฟู เอเชิญยิ้ม"
กรรมวิธีในการทำยำปลาดุกฟูดูเหมือนจะง่ายๆ แต่หนุ่มเอบอกว่าไม่หมูเหมือนกัน กว่าจะได้อาหารรสเลิศมาเสิร์ฟผู้บริโภคต้องคัดปลาอย่างดีนำมาต้มจนสุกแล้วลอกเอาเฉพาะเนื้อของปลาแล้วนำมาปั่นให้ละเอียดจนเข้ากันดีแล้ว จากนั้นนำมาทอดในน้ำมันที่เดือดจนเหลืองกรอบ ซึ่งที่ร้านจะใช้เนื้อปลาล้วนๆ ไม่ผสมแป้งจึงมีความกรอบนอกนุ่มใน เวลาทานเข้าไปแล้วจะเหมือนเส้นสายไหมที่เป็นขนมหวาน
เรียกว่ากว่าจะมาเป็นยำปลาดุก ฟู๊ ฟู ได้ก็ผ่านประสบการณ์มาอย่างโชกโชน เสียปลาดุกฟรีไปหลายกิโลกรัม เพราะครั้งแรกที่ทำออกมาหน้าตาเป็นยำปลาดุกแฟบ ต้องพัฒนาสูตรกันอยู่นาน พยายามหากรรมวิธีจนกลายมาเป็นยำปลาดุกฟูในแบบที่น่ารับประทานเช่นปัจจุบัน
หลายวันอาจจะยังไม่รู้ว่า ทำไมหนอหนุ่มเอจึงเลือกขายปลาดุกฟู มันอินเทรนด์ ตรงไหน เมื่อสอบถามพนักงานได้รับคำตอบว่า การที่หนุ่ม "เอ" เลือกทำยำปลาดุกเพราะส่วนหนึ่งเป็นคนอิสลาม เห็นหน้าตาหล่อตี๋แบบนี้ไม่บอกไม่รู้เลยนะนี่ว่ามีเชื้อ
จะว่าไปแล้วตอนนี้ฟู๊ ฟูก็เฟื่องฟูไม่น้อยกว่าธุรกิจของคนบันเทิงคนอื่นๆ เพราะมีร้านแฟรนไชส์ถึง 10 แห่งแล้ว แถมยังมีรับจัดงานเลี้ยงนอกสถานที่อีกด้วย
ตี๋ ดอกสะเดา-ไอศกรีมทอด
ร้านที่ห้า เห็นแล้วต้องแปลกใจ แค่ชื่อร้าน "ไอศกรีมทอด ตี๋ ดอกสะเดา" ก็ทำให้คนที่เดินผ่านไปผ่านมาตั้งคำถามแล้วว่า หน้าตามันเป็นอย่างไร ยิ่งเห็นคำเชิญชวนที่ว่า อร่อยขึ้นตา มีให้เลือก 5 รสชาติ ยิ่งเพิ่มข้อสังสัยต้องเดินเข้าไปสอบถาม
"หนุ่มตี๋" คุยด้วยน้ำเสียงที่เป็นกันเองว่า ทำตรงนี้มาได้ 2 ปีแล้ว ธุรกิจมีขึ้นมีลงบ้างตามสภาพเศรษฐกิจของสังคม แต่ก็พออยู่ได้ในระดับหนึ่ง ตอนนี้มีแฟรนไชส์ทั้งหมด 167 แห่งกระจายอยู่ทั่วประเทศทั้งในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ต่างจังหวัด โดยเน้นเจาะกลุ่มลูกค้าทั้งเด็กและผู้ใหญ่
และที่เลือกทำธุรกิจนี้เพราะเห็นว่าคนส่วนใหญ่ชอบทานของแปลก ไอศกรีมเย็นๆ ทอดในความร้อนที่สูงแต่ไม่ละลาย ถือเป็นของหวานอีกชนิดที่ช่วยคลายร้อนได้ดี
เมื่อถามของเรื่องอุปสรรคในการทำงาน "หนุ่มตี๋" บอกว่าก็มีบ้าง อย่างเช่นปัญหาการเจาะตลาดหรือแหล่งที่ขายว่าจะทำอย่างไรให้สินค้าเป็นที่รู้จักของตลาด
"หนุ่มตี๋" แม้จะเลือกอาชีพตลกเป็นอาชีพหลัก แต่ชีวิตจริงที่ไม่สามารถเรียกเสียงหัวเราะได้ตลอดเวลา เขาจึงต้องหาอาชีพเสริมเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับชีวิตอีกทางหนึ่ง
จอน ม๊กจ๊ก-น้ำพริกสู้ชีวิต
ร้านที่หก ไม่ลองไม่รู้กับ น้ำพริกสู้ชีวิต ของตลกสาวแคระสู้ชีวิต จอน ม๊กจ๊ก ลิ้มรสแล้วอร่อยไม่แพ้เจ้าอื่น
ถ้าจะพูดถึงชีวิตของหญิงเหล็กคนหนึ่งที่เศร้าและทุกข์ไม่แพ้เรื่องราวในละครไทย แต่เธอก็ไม่เคยท้อกับชีวิตที่บางครั้งต้องนั่งร้องไห้เสียใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะสุดท้ายเธอเลือกที่จะให้กำลังใจตัวเองด้วยการลุกขึ้นสู้ใหม่เสมอ
แม้ในสายตาหลายคนจะมองเธอว่าเป็นตลกตกอับ แต่ "จอน" บอกว่า "ไม่ใส่ใจกับคำพูดเหล่านั้นแต่พยายามทำทุกอย่างด้วยน้ำพักน้ำแรงที่ตัวเองมี เพราะสิ่งที่ทำอยู่มันไม่ใช่การตกอับแต่มันเป็นเรื่องของการสร้างอาชีพเสริมให้กับตัวเอง หากพรุ่งนี้ไม่มีงานตลก แต่ก็ยังมีน้ำพริกให้ขาย ที่สำคัญสิ่งที่ทำไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อนทุกการกระทำ ทุกความตั้งใจเพื่อความอยู่รอดเหมือนกับทุกๆ ชีวิตในสังคม"
"จอน" บอกว่า ทำ "น้ำพริกสู้ชีวิต" มาได้ 2 ปีกว่าแล้ว ชีวิตพออยู่ได้ ที่สำคัญยังได้กำลังใจดีๆ จากคนรอบข้างเสมอ การทำน้ำพริกตอนนี้ก็ไม่ลำบากมากเพราะมีลูกมือช่วยทำ 2-3 คน เป็นน้ำพริกที่ไม่ผสมสารกันบูด คิดเอง ทำเอง ทุกขั้นตอน
อิทธิ พลางกูร-ไก่ทอดเก็บตะวัน
ร้านที่เจ็ด อิ่มอร่อยแบบทอดๆ กับ "รานไก่ทอดเก็บตะวัน ของ ครอบครัวอิทธิ พลางกูร
แค่เห็นชื่อร้านไก่ทอดก็ต้องนึกถึงเพลงเก็บตะวันที่พี่อิทธิ พลางกูร เคยร้องเอาไว้ เพราะเพลงนี้ไม่เพียงแต่มีเนื้อหากินใจ เสียงของนักร้องยังมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ทำให้ผู้ฟังอินทุกครั้งที่เสียงเพลงนี้ลอยมาตามสายลม
ครอบครัวของคุณอิทธิ พลางกูร บอกว่า "ไก่ทอดเก็บตะวันทำผ่านมาได้ 1 ปีแล้ว เหตุผลที่เลือกทำไก่ทอดเก็บตะวันเพราะทางครอบครัวชอบทานไก่ทอดเป็นอาหารหลักของบ้าน เมื่อก่อนเวลาเดินทางไปไหนก็จะมีข้าวเหนียวไก่ทอดไปทานด้วยทุกครั้งแล้วก็อยากจะแบ่งปันความอร่อยให้กับคนอื่นบ้าง"
ในวันที่คิดจะเปิดกิจการนี้ก็มานั่งคิดกันว่าจะตั้งชื่อร้านว่าอะไรดี สุดท้ายก็มาสรุปที่ร้านไก่ทอดเก็บตะวัน ซึ่งอิทธิ พลางกูร เป็นคนตั้งเอง ซึ่งทางร้านก็ไม่ได้มีแค่ไก่ทอดเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ยังมีปูจ๊อ หอยจ๊อ ปูจ๋า กุ้งพันอ้อย และเร็วๆ นี้จะออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ชื่อว่า "น้ำพริกยังจำไว้" ซึ่งเป็นสูตรเฉพาะของครอบครัวพลางกูร ไม่ใส่ผงชูรสและสารกันบูด
เจ้าของร้านบอกว่า ร้านนี้ไม่เหมือนร้านไก่สูตรอื่นๆ เพราะใช้สูตรพิเศษในการหมักไก่ทำให้รสชาติดี
ถ้าใครติดใจรสชาติก็ต้องคอยติดตามข่าวอย่างใกล้ชิด เพราะร้านนี้ไม่เพียงแต่ไม่มีแฟรนไชส์ ไม่มีสาขาแล้ว ยังไม่ได้เปิดขายเป็นประจำทุกวัน แต่จะเปิดเฉพาะในช่วงออกงานต่างๆ เท่านั้น
ตาโย่ง-น้ำพริก ร้านที่แปด อร่อยแบบไทยๆ กับ น้ำพริกตาโย่ง
แค่ได้ยินชื่อน้ำพริก หน้าของตลกโย่ง ก็ลอยมาทันที
น้ำพริกตาโย่งเป็นอย่างไร น้าโย่งบอกว่า "น้ำพริกแบรนด์นี้ทำมาได้เกือบ 8 ปีแล้ว เริ่มจากที่ตอนแรกก็ทำอาชีพตลกเพียงอย่างเดียว แต่ก็เริ่มมาคิดได้ว่าวันนี้มีคนดูเรา แต่วันพรุ่งนี้อาจจะไม่มีคนดูก็ได้ เพราะชีวิตคนเราไม่มีอะไรที่ยั่งยืนจึงคิดทำธุรกิจเสริม แต่ตอนแรกก็ไม่รู้ว่าจะทำอะไรดี แต่ก็พยายามคิดจากสิ่งที่มีที่ทำอยู่ในชีวิตประจำวัน และด้วยความที่บ้านทำน้ำพริกอร่อย ประกอบกับตัวเองชอบรับประทานน้ำพริกอยู่แล้ว บางครั้งก็ห่อไปรับประทานที่ทำงานแล้วก็แบ่งปันให้กับเพื่อนๆ ที่ทำงานรับประทานด้วย หลายๆ คนก็ชมว่าอร่อยก็เลยคิดขึ้นมาได้เลยว่าน่าจะลองทำน้ำพริกดู
ถ้าใครชอบรับประทานน้ำพริกจะรู้ว่าในท้องตลาดนั้นมีแต่น้ำพริกของยอดคุณแม่ทั้งนั้น ทั้งแม่ประนอม แม่บุญเรือง พอน้ำพริกตาโย่งออกมาเปิดตลาด หลายคนจึงอยากลิ้มชิมรสดูสักครั้ง
น้าโย่งบอกว่า น้ำพริกนี้เป็นน้ำพริกผู้ชายรายแรกของไทยถึงแม้จะมีแบรนด์อื่นตามมาก็ตาม แต่จนถึงทุกวันนี้แม้จะเจอกับพิษเศรษฐกิจบ้างก็ไม่ได้รับผลกระทบ มากมายเพราะเป็นธุรกิจขนาดย่อมที่มีการลงทุนไม่มาก แต่ก็ต้องขยันมากขึ้นเพื่อให้อยู่ได้ แถมยังได้ลูกสาวสุดที่รักมาช่วยดูแลในเรื่องของการตลาดด้วยจึงทำให้ทั่วทุกภาคของไทยมีน้ำพริกตาโย่งขายอยู่ทั่ว
และที่น่าสนใจคือ ตอนนี้มีถึงสิบสูตรเป็นสูตรที่คิดเองทำเองจากคนที่บ้าน ตอนแรกก็ใช้พื้นที่ที่บ้านทำแต่ก็เริ่มขยับขยายจนตอนนี้ต้องผลิตในโรงงาน ตอนแรกที่ทำคิดแค่ว่าคงจะขายได้ หรือขายได้เพราะหน้าตา ชื่อเสียง ที่อยู่ข้างกระปุก แต่เมื่อคนซื้อกลับมาซื้ออีกครั้งที่ 2-3 เราก็รู้สึกชื่นใจว่าของเราก็ยังอร่อย
สำหรับอาชีพตลกน้าโย่งบอกว่า ก็ยังรักไม่เปลี่ยนเพราะน้าโย่งรักในสิ่งที่เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ชีวิตมีอย่างทุกวันนี้ เรื่องเงินไม่สำคัญขอให้ได้เล่นตลกให้คนหัวเราะมีความสุขเป็นใช้ได้
ลูกชิ้นหมู ปู + เด๋อ
ร้านที่เก้า ชื่อนี้แทบไม่มีใครรู้จัก เดินไปตลาดไหนก็เจอ ลูกชิ้นหมู ปู + เด๋อ
จุดเริ่มต้นของ "ลูกชิ้นหมู ปู + เด๋อ" กล่าวขานกันว่า มาจากในช่วงตั้งครรภ์ "ปู" (กนกวรรณ บุรานนท์) ว่างไม่ได้รับงานแสดงหรือโชว์ตัวใดๆ ทำให้เกิดความคิดที่ต้องการจะมีอาชีพอื่นเพื่อรองรับอาชีพนักแสดงที่อาจจะลดน้อยลงในอนาคต ซึ่งการที่เลือกขายลูกชิ้นมาจากในช่วงงานกาชาดทุกปีจะเชิญนักแสดงไปร่วมออกบูทขายสินค้าเพื่อสร้างสีสันให้กับงาน และในปีนั้นได้เลือกขายลูกชิ้นปรากฏว่าสามารถสร้างรายได้เป็นอย่างดี
จากจุดตรงนี้เองที่เป็นตัวจุดประกายให้เกิดธุรกิจลูกชิ้นหมู ปู + เด๋อ ที่ได้รับความนิยมในวันนี้
"ลูกชิ้นที่นำมาขายช่วงแรกนั้นรับมาขายอีกที่หนึ่งยังไม่ได้ทำเองเหมือนในปัจจุบัน ส่วนสูตรในการทำก็พยายามพัฒนาและลองผิดลองถูกด้วยตัวเองได้สูตรอะไรมาก็ทดลองทำหมด หมูหมดไปหลายกิโลเหมือนกันกว่าจะได้ "ลูกชิ้นหมู ปู + เด๋อ" ที่จำหน่ายอยู่ในปัจจุบัน เจ้าของร้านเล่าให้ฟังและบอกต่ออีกว่า ทาง "ปู" และ "คุณเด๋อ" ตั้งใจไว้ว่าจะยึดธุรกิจนี้เป็นอาชีพหลักต่อไปจนถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน เพราะการเป็นนักแสดงไม่สามารถสืบทอดต่อไปจนถึงรุ่นลูกได้ แต่การสร้างธุรกิจของเราเองสามารถสร้างอาชีพให้แก่ลูกต่อไปได้ในอนาคต
จุดเริ่มต้นในตอนแรกแม้ว่าจะเหนื่อยมาก ทั้ง "ปู" และ "คุณเด๋อ" เพราะทั้งคู่มักจะออกมาขายและแนะนำสินค้าด้วยตัวเองเสมอ เพื่อให้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป แต่ทั้งสองคนก็ยังได้เปรียบคนอื่นๆ ตรงที่เป็นนักแสดงทำให้ได้รับความสนใจจากลูกค้า ทั่วทุกสารทิศ หลังจากลูกค้าคนหนึ่งได้ชิมก็บอกต่อ แล้วมีการกลับมาซื้อครั้งที่สอง ครั้งที่สาม ยอดขายจึงพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว
แม้ว่าความเป็นดารา นักแสดงจะเป็นปัจจัยส่วนหนึ่งที่ทำให้การขายสินค้าขยายตัวอย่างรวดเร็ว แต่ปูกับเด๋อก็เชื่อว่าสุดท้ายสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับการทำธุรกิจอาหาร คือ ความใส่ใจในรสชาติ และขั้นตอนการผลิต เพราะอยากให้ลูกค้าได้สิ่งที่ดีที่สุด
ถั่วแระ เชิญยิ้ม-ก๋วยเตี๋ยวต้มยำ
มากันที่ร้านสุดท้าย ร้านก๋วยเตี๋ยวต้มยำของนายกสมาคมตลกอย่าง ถั่วแระ เชิญยิ้ม ที่ขายหมดก่อนใครเพื่อน แสดงว่าของเขาดีจริงๆ ไม่รู้ว่าหนุ่มเคราแพะ ถั่วแระ เชิญยิ้ม ใช้สูตรพิเศษอะไรในการทำน้ำซุปถึงขายดีเป็นเทน้ำเทท่า หรือว่ามีคาถาดีเรียกคนเข้าร้าน
หลังจากเดินสำรวจแล้วพบแต่ตู้เปล่าๆ เลยหมดโอกาสหาคำตอบมาฝากผู้อ่าน เอาไว้คราวหน้าปะหน้าถั่วแระจะรีบไขปริศนานี้ทันที
ทั้งหมดคือตัวอย่างของ "คนบันเทิง" ที่ไม่ได้ติดอยู่กับความรุ่งโรจน์ในปัจจุบัน แต่มองไปถึงอนาคตว่าจะอยู่อย่างไรอย่างมั่นคงและมีความสุข
อาชีพอิสระที่เหล่าคนบันเทิงเลือกทำจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกหรือแผนสำรองในการใช้ชีวิตที่ตั้งอยู่บนความไม่แน่นอน
เครดิต http://women.sanook.com/work/108jobs/index.php
ภาพประกอบจาก Internet
ภาพประกอบจาก Internet
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น