“กระยาสารท” เป็นขนมไทยพื้นบ้านอีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย คนยุคก่อนจะทำกันช่วงเทศกาลทำบุญวันสารทไทย แรม 15 ค่ำ เดือน 10 แต่ปัจจุบันขนมชนิดนี้ถูกปรับปรุงพัฒนาให้เป็นขนมกินเล่นได้ อย่างเช่นยี่ห้อ “อำนวยขนมไทย” ใน จ.ปทุมธานี ที่ทีม “ช่องทางทำกิน” มีข้อมูลมานำเสนอ...
อำนวย ลางคุณเสน ประธานกลุ่มอาชีพสตรีคลองควาย ต.คลองควาย อ.สามโคก จ.ปทุมธานี เล่าว่า สมัยก่อนพอถึงช่วงเทศกาลสารทไทย ชาวไทยพุทธทุกบ้านจะต้องนำเอาพืชผลทางการเกษตรที่ให้ผลผลิตครั้งแรกในฤดูเก็บเกี่ยว ทั้งข้าวเม่า ข้าวตอก ถั่ว งา น้ำผึ้ง น้ำตาล และน้ำอ้อย มาทำเป็นขนม “กระยาสารท” เพื่อนำไปประกอบพิธีทำบุญในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ตามความเชื่อที่ว่า บุญกุศลจะไปสู่ญาติพี่น้องที่เสียชีวิตไปแล้วและยังส่งผลให้พืชผลทางการเกษตรเจริญงอกงาม และอุดมสมบูรณ์อีกด้วย
แม้วัฒนธรรมการทำขนมชนิดนี้จะเลือนหายไปตามเวลา จนเกือบไม่เหลือให้เห็นแล้ว แต่ผู้คนส่วนใหญ่ยังติดใจในรสชาติความอร่อยของกระยาสารท ตนเองซึมซับและผูกพันกับขนมไทยเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงสนใจอยากจะทดลองทำขายดู ซึ่งการทำกระยาสารทไม่ใช่เรื่องยาก แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าทำอย่างไรให้อร่อยโดนใจ
ด้วยพรสวรรค์ บวกกับพรแสวงที่ได้จากการฝึกฝนวิชาทำขนมกระยาสารทจากรุ่นปู่ย่าตายาย พลิกแพลงพัฒนาหลายต่อหลายครั้ง ในที่สุดอำนวยก็ได้สูตรเฉพาะของตนเอง และในปี 2538 ก็เริ่มผันตัวเองจากอาชีพทำนามาเป็นแม่ค้าขายกระยาสารท แล้วชักชวนเพื่อนบ้านจัดตั้งเป็น “กลุ่มอาชีพสตรีคลองควาย” ขึ้น ใช้ทุนเริ่มต้นสำหรับอุปกรณ์ราว 25,000 บาท จากการสนับสนุนของกรมการพัฒนาชุมชน
อำนวยไปอบรมความรู้ตามหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อพัฒนาสินค้าให้ได้คุณภาพ ทั้งรสชาติ กระบวนการผลิต บรรจุภัณฑ์ จนได้รับการรองทั้งจาก อย., มผช., โอท็อป, รางวัลชนะเลิศกระยาสารทงานของดีเมืองปทุมธานี ฯลฯ ทำให้สินค้าขายดีขึ้นเรื่อย ๆ ล่าสุดยังได้รับเลือกให้วางขายในห้างเทสโก้ โลตัส ด้วย
วัตถุดิบหรือส่วนผสมที่ใช้ในการทำ “กระยาสารท” ก็มี... ข้าวเม่า, ข้าวตอก, ถั่ว, งา, น้ำอ้อย, น้ำกะทิ, มะนาว, นมสด ส่วนอุปกรณ์หลัก ๆ ก็มี... กระทะขนาดใหญ่, เตาแก๊สหรือเตาถ่าน, ไม้พาย, ตะหลิว, ถาดขนาดใหญ่, กะละมัง, ไม้กลิ้ง, พิมพ์ และอุปกรณ์งานครัวเบ็ดเตล็ด
ขั้นตอนการทำ “กระยาสารท” เริ่มจาก... นำข้าวเม่า ข้าวตอก ถั่ว งา ไปคั่วด้วยไฟอ่อนให้หอมและสุกเหลืองพอดี ใส่ภาชนะแยก วางพักไว้ แล้วก็เตรียมน้ำอ้อย น้ำกะทิ นมสด และน้ำมะนาวให้พร้อม นำกระทะตั้งไฟใส่น้ำอ้อยลงไป ตามด้วยน้ำกะทิและนมสดในสัดส่วนที่พอเหมาะ ใช้ไฟร้อนปานกลางเคี่ยวผสมให้เดือดสักครู่ แล้วเติมน้ำมะนาวเล็กน้อย จะช่วยให้กระยาสารทมีสีเหลืองนวลสวย ใส และกรอบ
ทำการเคี่ยวต่อไปเรื่อย ๆ ประมาณ 2 ชั่วโมงจนส่วนผสมเหนียวได้ที่ นำข้าวตอกใส่ลงไป ตะล่อมคนให้ทั่วและให้เข้ากันดี จากนั้นค่อยนำส่วนผสมที่เหลือเทรวมลงไป โดยใช้ไม้พายคนให้เข้ากันอีกประมาณ 40 นาที ระหว่างนี้ใช้ไฟอ่อน ๆ สังเกตดูส่วนผสมทุกอย่างเกาะติดกันจนเหนียวได้ ค่อยยกลงจากเตา
จากนั้นนำไปเทลงในแม่พิมพ์ที่เตรียมไว้ แล้วใช้ลูกกลิ้งไม้ผิวเรียบอัดด้วยแรง เพื่อให้กระยาสารทเกาะแน่นติดกัน จากนั้นนำมาตัดเป็นชิ้น ๆ ก่อนแพ็กบรรจุภัณฑ์เพื่อไปวางจำหน่าย โดยการขายก็มีหลายแบบ ถ้าบรรจุกล่อง 300 กรัม ราคา 49 บาท ถ้าแพ็กเป็นถุง ๆ ละ 20-35 บาท หรือชั่งเป็นกิโลกรัม ๆ ละ 100 บาท
คุณอำนวยนั้น จากชาวนา สามารถพัฒนาอาชีพขายกระยาสารท จนกลายเป็นธุรกิจที่ประสบผลสำเร็จ ยืนหยัดมานานราว 16 ปี และช่วยให้คนในชุมชนมีงาน มีรายได้ด้วย โดยเจ้าตัวบอกว่าแม้กำไรที่ได้ไม่มากมาย แต่ได้ความเป็นอยู่ที่ดีของเพื่อนสมาชิก และความสุขในครอบครัว นี่คือกำไรที่มีค่ายิ่งแล้ว
ใครสนใจ “กระยาสารท” สนใจขนมไทยโบราณ “อำนวยขนมไทย” สนใจเคล็ดลับ เทคนิค วิธีการบริหารจัดการธุรกิจ ของกลุ่มอาชีพสตรีคลองควาย ติดต่อได้ที่ เลขที่ 3 หมู่ 6 ต.คลองควาย อ.สามโคก จ.ปทุมธานี โทร.0-2593-2403, 08-9775-0932 แล้วจะรู้ว่า...ทำ-ขายขนมโบราณ...ไม่บานบุรี !!
เชาวลี ชุมขำ :รายงาน เดลินิวส์ http://www.dailynews.co.th
อำนวย ลางคุณเสน ประธานกลุ่มอาชีพสตรีคลองควาย ต.คลองควาย อ.สามโคก จ.ปทุมธานี เล่าว่า สมัยก่อนพอถึงช่วงเทศกาลสารทไทย ชาวไทยพุทธทุกบ้านจะต้องนำเอาพืชผลทางการเกษตรที่ให้ผลผลิตครั้งแรกในฤดูเก็บเกี่ยว ทั้งข้าวเม่า ข้าวตอก ถั่ว งา น้ำผึ้ง น้ำตาล และน้ำอ้อย มาทำเป็นขนม “กระยาสารท” เพื่อนำไปประกอบพิธีทำบุญในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ตามความเชื่อที่ว่า บุญกุศลจะไปสู่ญาติพี่น้องที่เสียชีวิตไปแล้วและยังส่งผลให้พืชผลทางการเกษตรเจริญงอกงาม และอุดมสมบูรณ์อีกด้วย
แม้วัฒนธรรมการทำขนมชนิดนี้จะเลือนหายไปตามเวลา จนเกือบไม่เหลือให้เห็นแล้ว แต่ผู้คนส่วนใหญ่ยังติดใจในรสชาติความอร่อยของกระยาสารท ตนเองซึมซับและผูกพันกับขนมไทยเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงสนใจอยากจะทดลองทำขายดู ซึ่งการทำกระยาสารทไม่ใช่เรื่องยาก แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าทำอย่างไรให้อร่อยโดนใจ
ด้วยพรสวรรค์ บวกกับพรแสวงที่ได้จากการฝึกฝนวิชาทำขนมกระยาสารทจากรุ่นปู่ย่าตายาย พลิกแพลงพัฒนาหลายต่อหลายครั้ง ในที่สุดอำนวยก็ได้สูตรเฉพาะของตนเอง และในปี 2538 ก็เริ่มผันตัวเองจากอาชีพทำนามาเป็นแม่ค้าขายกระยาสารท แล้วชักชวนเพื่อนบ้านจัดตั้งเป็น “กลุ่มอาชีพสตรีคลองควาย” ขึ้น ใช้ทุนเริ่มต้นสำหรับอุปกรณ์ราว 25,000 บาท จากการสนับสนุนของกรมการพัฒนาชุมชน
อำนวยไปอบรมความรู้ตามหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อพัฒนาสินค้าให้ได้คุณภาพ ทั้งรสชาติ กระบวนการผลิต บรรจุภัณฑ์ จนได้รับการรองทั้งจาก อย., มผช., โอท็อป, รางวัลชนะเลิศกระยาสารทงานของดีเมืองปทุมธานี ฯลฯ ทำให้สินค้าขายดีขึ้นเรื่อย ๆ ล่าสุดยังได้รับเลือกให้วางขายในห้างเทสโก้ โลตัส ด้วย
วัตถุดิบหรือส่วนผสมที่ใช้ในการทำ “กระยาสารท” ก็มี... ข้าวเม่า, ข้าวตอก, ถั่ว, งา, น้ำอ้อย, น้ำกะทิ, มะนาว, นมสด ส่วนอุปกรณ์หลัก ๆ ก็มี... กระทะขนาดใหญ่, เตาแก๊สหรือเตาถ่าน, ไม้พาย, ตะหลิว, ถาดขนาดใหญ่, กะละมัง, ไม้กลิ้ง, พิมพ์ และอุปกรณ์งานครัวเบ็ดเตล็ด
ขั้นตอนการทำ “กระยาสารท” เริ่มจาก... นำข้าวเม่า ข้าวตอก ถั่ว งา ไปคั่วด้วยไฟอ่อนให้หอมและสุกเหลืองพอดี ใส่ภาชนะแยก วางพักไว้ แล้วก็เตรียมน้ำอ้อย น้ำกะทิ นมสด และน้ำมะนาวให้พร้อม นำกระทะตั้งไฟใส่น้ำอ้อยลงไป ตามด้วยน้ำกะทิและนมสดในสัดส่วนที่พอเหมาะ ใช้ไฟร้อนปานกลางเคี่ยวผสมให้เดือดสักครู่ แล้วเติมน้ำมะนาวเล็กน้อย จะช่วยให้กระยาสารทมีสีเหลืองนวลสวย ใส และกรอบ
ทำการเคี่ยวต่อไปเรื่อย ๆ ประมาณ 2 ชั่วโมงจนส่วนผสมเหนียวได้ที่ นำข้าวตอกใส่ลงไป ตะล่อมคนให้ทั่วและให้เข้ากันดี จากนั้นค่อยนำส่วนผสมที่เหลือเทรวมลงไป โดยใช้ไม้พายคนให้เข้ากันอีกประมาณ 40 นาที ระหว่างนี้ใช้ไฟอ่อน ๆ สังเกตดูส่วนผสมทุกอย่างเกาะติดกันจนเหนียวได้ ค่อยยกลงจากเตา
จากนั้นนำไปเทลงในแม่พิมพ์ที่เตรียมไว้ แล้วใช้ลูกกลิ้งไม้ผิวเรียบอัดด้วยแรง เพื่อให้กระยาสารทเกาะแน่นติดกัน จากนั้นนำมาตัดเป็นชิ้น ๆ ก่อนแพ็กบรรจุภัณฑ์เพื่อไปวางจำหน่าย โดยการขายก็มีหลายแบบ ถ้าบรรจุกล่อง 300 กรัม ราคา 49 บาท ถ้าแพ็กเป็นถุง ๆ ละ 20-35 บาท หรือชั่งเป็นกิโลกรัม ๆ ละ 100 บาท
คุณอำนวยนั้น จากชาวนา สามารถพัฒนาอาชีพขายกระยาสารท จนกลายเป็นธุรกิจที่ประสบผลสำเร็จ ยืนหยัดมานานราว 16 ปี และช่วยให้คนในชุมชนมีงาน มีรายได้ด้วย โดยเจ้าตัวบอกว่าแม้กำไรที่ได้ไม่มากมาย แต่ได้ความเป็นอยู่ที่ดีของเพื่อนสมาชิก และความสุขในครอบครัว นี่คือกำไรที่มีค่ายิ่งแล้ว
ใครสนใจ “กระยาสารท” สนใจขนมไทยโบราณ “อำนวยขนมไทย” สนใจเคล็ดลับ เทคนิค วิธีการบริหารจัดการธุรกิจ ของกลุ่มอาชีพสตรีคลองควาย ติดต่อได้ที่ เลขที่ 3 หมู่ 6 ต.คลองควาย อ.สามโคก จ.ปทุมธานี โทร.0-2593-2403, 08-9775-0932 แล้วจะรู้ว่า...ทำ-ขายขนมโบราณ...ไม่บานบุรี !!
เชาวลี ชุมขำ :รายงาน เดลินิวส์ http://www.dailynews.co.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น