บทความที่ได้รับความนิยม

มงคลชีวิต ๓๘ ประการ The Blessings of Life


มงคลชีวิต (The Blessings of Life) คือ คำแนะนำในการดำเนินชีวิตเพื่อความสุขและความเจริญก้าวหน้าของชีวิต ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ๓๘ ข้อ หรือ เรียกว่า มงคล ๓๘ ประการ

ปฐมเหตุมงคลชีวิต

มลคลชีวิตหมู่ที่ ๑ - ฝึกให้เป็นคนดี

มงคลที่ ๑ ไม่คบคนพาล [ อเสวนา จ พาลานํ (อะเสวะนา จะ พาลานัง) ]
พาล แปลว่า โง่เขลา อับปัญญา รู้เท่าไม่ถึงการณ์ คนพาลคือคนโง่เขลา คนเกเรแม้คนมีปริญญาสูงๆแต่ประพฤติทุจริตทางกาย วาจา ใจ เรียกว่า คนพาล การไม่คบคนพาลจึงเป็นมงคล เพราะการคบคนพาลพาไปหาผิด การไม่คบคนพาลจึงทำให้พ้นจากโอกาสที่จะหลงเข้าสู่ความผิด นำมาซึ่งความสรรเสริญของคนทั่วไป และประสบความสุขความก้าวหน้าในชีวิต เป็นการตัดกำลังไม่ให้เชื้อคนพาลระบาดไป เพราะขาดคนสนับสนุน

มงคลที่ ๒ - คบบัณฑิต [ ปณฑิตานญฺจ เสวนา (ปัณฑิตานัญจะ เสวะนา) ]
บัณฑิต แปลว่า ผู้มีปัญญา นักปราชญ์ หมายถึง ผู้รู้ทัน และมีเหตุผล ในการกระทำ ในคำที่พูด และเรื่องที่คิด คบบัณฑิตเป็นมงคล เพราะได้ความรู้ ความปลอดภัย ความสรรเสริญ ความสุข เกียรติยศ ชื่อเสียง และชื่อว่าได้ทำความดีด้วย ทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้ง่าย ได้ชื่อว่ามี "กัลยาณมิตร"

มงคลที่ ๓ บูชาบุคคลที่ควรบูชา [ ปูชา จ ปูชนียานํ (ปูชา จะ ปูชะนียานัง) ]
บูชา คือ สักการะ เคารพ นับถือ ยำเกรง กราบไหว้ ทำด้วยความเอื้อเฟื้อ การบูชาเป็นมงคล เพราะทำให้เราลดทิฏฐิมานะลงได้ ป้องกันความเห็นผิด และทำให้เราได้แบบอย่างที่ดีจากคนที่เราเคารพ เป็นการขจัดคนพาลให้พินาศไปโดยทางอ้อมและเป็นการเชิดชูบัณฑิตให้สูงเด่นยิ่งขึ้น และได้ชื่อว่าเป็นผู้มี "กตัญญูกตเวที" อีกด้วย

มงคลหมู่ที่ ๒ - สร้างความพร้อมในการฝึกตนเอง

มงคลที่ ๔ อยู่ในถิ่นที่เหมาะสม [ ปฏิรูปเทสวาโส จ (ปะฏิรูปะเทสะวาโส จะ) ]
ปฏิรูป แปลว่า เหมาะสมหรือสมควร เทสะ แปลว่าสถานที่หรือท้องถิ่น ปฏิรูปเทสวาสะ คือการอยู่ในท้องถิ่นอันสมควร คืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีมีความพร้อม การอยู่ในประเทศอันสมควรเป็นมงคล เพราะการอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีย่อมทำให้เป็นคนดี คนมีความรู้ถ้าอยู่ในถิ่นที่ไม่ต้องใช้วิชาความรู้ ความรู้นั้นก็หมดค่าไป และทำให้คนเรากล้าต่อการเผชิญกับปัญหา เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีได้ ได้รับความสุขกาย สุขใจ มีความเจริญก้าวหน้า ทั้งทางโลกและทางธรรม


มงคลที่ ๕ มีบุญวาสนามาก่อน [ ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา (ปุพเพ จะ กะตะปุญญะตา) ]
บุญ แปลว่า ความดี ความสุข สิ่งที่ชำระจิตใจ สิ่งที่ฟอกจิต การทำบุญไว้ก่อนเป็นมงคล เพราะการทำบุญเป็นการสร้างความดี ซึ่งมีระยะเวลายาวนานต้องอดทน เหมือนปลูกต้นไม้ยืนต้นจะต้องคอยผลไม้นั้นเป็นปีๆ การทำบุญในอดีตส่งผลในปัจจุบัน การทำบุญในปัจจุบันส่งผลในปัจจุบันและอนาคต ผู้ทำความดีจึงต้องคิดว่าเป็นการสร้างฐานแห่งอนาคตไว้ฉะนั้น

มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ [ อตฺตสมฺมาปณิธิ จ (อัตตะสัมมาปะณิธิ จะ) ]
อัตตะ หรือ ตน หมายถึงกายกับใจ การตั้งตนไว้ชอบคือการวางตัวในการดำรงชีพ หรือในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องและมั่นคง จึงจะได้ชื่อว่าเป็นคนมีคุณภาพชีวิต การตั้งตนไว้ชอบเป็นมงคล เพราะเป็นการสร้างความมั่นคง ความปลอดภัยแก่ตนเอง เป็นตัวอย่างที่ดีแก่คนอื่น มีความก้าวหน้า เป็นผู้ป้องกันภัยในอบายภูมิ และได้รับสมบัติ 3 ประการคือ มนุษยสมบัติ ทิพยสมบัติ และนิพพานสมบัติ

มงคลหมู่ที่ ๓ - ฝึกตนให้เป็นคนมีประโยชน์

มงคลที่ ๗ พหูสูต [ พาหุสจฺจญฺจ (พาหุสัจจัญจะ) ]
พหู แปลว่ามาก สูต แปลว่าความเป็นผู้ได้สดับตรับฟัง ดังนั้นพหูสูต จึงหมายถึงความเป็นผู้รู้ ได้สดับตรับฟังมาก หรือความเป็นผู้คงแก่เรียน พหูสูตเป็นมงคล เพราะการฟังมาก (ในที่นี้รวมถึงผู้ที่รู้จากการอ่านด้วย) ย่อมเพิ่มวุฒิปัญญา เชาวน์ และไหวพริบ นำความรู้ที่ได้ยินได้ฟัง ได้อ่าน ไปปฏิบัติเพื่อช่วยเหลือตนเองหรือคนอื่นได้มาก และเป็นช่องทางนำความเจริญด้วย ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ความเจริญก้าวหน้ามาสู่ตน ไม่มีใครแย่งชิงได้ เป็นสหชาติปัญญา

มงคลที่ ๘ มีศิลปะ [ สิปฺปญฺจ (สิปปัญจะ) ]
สิปปะ หรือ ศิลปะ หมายถึง วิชาชีพหรือความฉลาดในการใช้มือ ความมีศิลปะเป็นมงคล เพราะคนมีศิลปะจะช่วยตัวเองได้ไม่ว่าจะตกอยู่ในสถานะใด คนมีศิลปะย่อมเจริญก้าวหน้า ได้รับความสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า และทำให้โลกเจริญทั้งด้านวัตถุและจิตใจดังพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 6 ว่า "…เมืองใดไร้ศิลป์โสภณ เมืองนั้นไม่พ้นเสื่อมทราม…"

มงคลที่ ๙ มีวินัย [ วินโย จ สุสิกฺขิโต (วินะโย จะ สุสิกขิโต) ]
วินัย แปลว่า ข้อแนะนำ บทฝึกหัด ได้แก่ กฎเกณฑ์และข้อบังคับต่างๆ ที่ใช้ในสังคมนั้นๆ มีวินัยเป็นมงคล เพราะวินัยเป็นตัวกำหนดให้เกิดความสามัคคี ความมีระเบียบสร้างความเข้มแข็งในกิจการงานต่างๆ ทำให้สังคมที่ดีดำรงอยู่

มงคลที่ ๑๐ มีวาจาสุภาษิต [ สุภาสิตา จ ยา วาจา (สุภาสิตา จะ ยา วาจา) ]
วาจา คือ คำพูด สุภาษิต คือพูดดี คำว่า วาจาสุภาษิตจึงหมายถึงพูดดี วาจาสุภาษิตเป็นมงคล เพราะคนที่พูดวาจาสุภาษิต จะบันดาลให้การงานทั้งปวงสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี มีความเจริญก้าวหน้าทั้งทางโลกและทางธรรม ได้รับความสำเร็จในเรื่องที่เจรจา

มลคลหมู่ที่ ๔ - บำเพ็ญประโยชน์ต่อครอบครัว

มงคลที่ ๑๑ บำรุงบิดามารดา [ มาตาปิตุอุปฏฺฐานํ (มาตาปิตุอุปัฏฐานัง) ]
มารดา แปลว่า ผู้รักษาบุตร ผู้เลี้ยงดูบุตร บิดา แปลว่า ผู้รักใคร่บุตร ผู้ให้สัตว์โลกยินดี การเลี้ยงดูมารดาเป็นมงคล เพราะเป็นการสืบต่อสังคมโดยอัตโนมัติ การบำรุงเลี้ยงดูมารดาบิดา ทำให้ได้รับการยกย่องสรรเสริญ มีความเจริญก้าวหน้า เป็นตัวอย่างที่ดีแก่อนุชนรุ่นหลัง

มงคลที่ ๑๒ เลี้ยงดูบุตร [ ปุตฺตสงฺคโห (ปุตตะสังคะโห) แยกมาจาก ปุตฺตทารสฺส สงฺคโห (ปุตตะทารัสสะ สังคะโห) ]
บุตร แบ่งตามคุณธรรม มี 3 ประเภท คือ
1. อภิชาตบุตร บุตรที่ยิ่งใหญ่กว่ามารดาบิดา 2. อนุชาตบุตร บุตรเสมอมารดาบิดา3. อวชาตบุตร บุตรที่เลวกว่ามารดาบิดา
บุตรทั้ง 3 ประเภทนี้มีอยู่ในทุกสังคม ตระกูลจะมั่นคงได้ บุตรจะต้องเป็นอภิชาตบุตร หรืออนุชาตบุตร ส่วนอวชาตบุตร เกิดมาเพื่อทำลายวงศ์ตระกูลโดยเฉพาะ การเลี้ยงดูบุตรเป็นมงคล เพราะบุตรเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว ซึ่งก็คือส่วนหนึ่งของประเทศชาติ ถ้าเลี้ยงดูบุตรให้ดีได้รับการศึกษา ก็เท่ากับสร้างครอบครัวให้ดี ประเทศชาติจะเจริญมั่นคง การไม่ดูแลบุตรปล่อยให้เป็นจิ้งจอกสังคม มารสังคม เป็นนักเลง เป็นโจร เป็นคนไม่มีวินัย เป็นนักเลงหญิง นักเลงการพนัน เท่ากับว่าทำลายสังคมและประเทศชาติด้วย

มงคลที่ ๑๓ สงเคราะห์ภรรยา-สามี [ ทารสงฺคโห (ทาระสังคะโห) แยกมาจาก ปุตฺตทารสฺส สงฺคโห (ปุตตะทารัสสะ สังคะโห) ]
ทาระ แปลว่า เมีย ภรรยา แปลว่า ผู้ที่สามีต้องเลี้ยงดู คือเมีย พระพุทธศาสนา ได้กำหนดหลักการเลี้ยงดู หรือสงเคราะห์ภรรยาไว้ห้าประการ ได้แก่ การยกย่อง ไม่ดูหมิ่น ไม่นอกใจ มอบความเป็นใหญ่ให้ มอบเครื่องแต่งตัวตลอดถึงพาออกงานด้วย การเลี้ยงดูภรรยาเป็นมงคล เพราะทำให้ชีวิตครอบครัวมั่นคงยั่งยืนเป็นการร่วมกันสร้างฐานะให้มั่นคง การสงเคราะห์ภรรยาเป็นการสร้างความมั่นคงและมั่นใจให้แก่ภรรยา ครอบครัวมีความสงบสุข ได้รับการยกย่องสรรเสริญ และเป็นตัวอย่างที่ดีแก่อนุชนรุ่นหลัง

มงคลที่ ๑๔ ทำงานไม่คั่งค้าง [ อนากุลา จ กมฺมนฺตา (อะนากุลา จะ กัมมันตา) ]
กรรม หรือการงาน แบ่งออกเป็นสองอย่าง คือ งานทางโลกและงานทางธรรมงานทางโลก ได้แก่ ทำนา ทำสวน ทำไร่ ค้าขาย บริการ รับราชการ เป็นต้น ส่วนงานทางธรรม ได้แก่ งานสร้างสันติสุขให้แก่โลก ลดละกิเลส ความเห็นแก่ตัว ความริษยา เป็นต้น ให้น้อยลง งานไม่คั่งค้างเป็นมงคล เพราะถ้าหากงานคั่งค้างแล้วย่อมไม่มีประโยชน์ไม่เห็นผล งานไม่คั่งค้างจะทำให้ฐานะของตน ครอบครัว และประเทศชาติเจริญขึ้นเพราะฉะนั้นงานที่ทำเสร็จเห็นผลงานจึงเป็นมงคล

มงคลหมู่ที่ ๕ - บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม

มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน [ ทานญฺจ (ทานัญจะ) ]
ทาน แปลว่า ให้ และเป็นการให้ด้วยเจตนาอยากให้ ทานมี 2 อย่างคือ อามิสทาน ให้วัตถุสิ่งของ เช่น ปัจจัย 4 ดอกไม้ ธูป เทียน เป็นต้น และธรรมทาน ให้สิ่งที่ไม่ใช่วัตถุ เช่น ให้คำแนะนำสั่งสอน ให้อภัย เป็นต้น การให้ทานเป็นมงคล เพราะเป็นการฝึกใจให้เป็นนักเสียสละ เป็นการลดความเห็นแก่ตัว ถ้าต่างคนต่างมุ่งหวังให้ทาน ความเห็นแก่ตัวจะลดลง การทุจริตจะลดลง ทำให้มีชื่อเสียงในสังคม แม้ตายแล้วย่อมไปเกิดในสวรรค์

มงคลที่ ๑๖ ประพฤติธรรม [ ธมฺมจริยา จ (ธัมมะจะริยา จะ) ]
ธรรม คือ คำสอนของพระพุทธเจ้าและสาวก จริยา แปลว่าประพฤติ ธรรมจริยา จึงหมายถึง การประพฤติปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าและของพระสาวก การประพฤติธรรมเป็นมงคล เพราะเป็นการยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น ผู้ประพฤติธรรมมีแต่ความสุข (ธมฺมจารี สุขํ เสติ) ผู้ประพฤติธรรมได้ชื่อว่าสอนคนอื่นด้วยการประพฤติตลอดเวลา สร้างความเจริญก้าวหน้าแก่ตนเองและส่วนรวมเป็นผู้สร้างทางสวรรค์เอาไว้

· มงคลที่ ๑๗ สงเคราะห์ญาติ [ ญาตกานญฺจ สงฺคโห (ญาตะกา นัญจะ สังคะโห) ]
· มงคลที่ ๑๘ ทำงานไม่มีโทษ [ อนวชฺชานิ กมฺมานิ (อะนะวัชชานิ กัมมานิ) ]

มงคลหมู่ที่ ๖ - ปรับเตรียมสภาพใจให้พร้อม

· มงคลที่ ๑๙ งดเว้นจากบาป [ อารตี วิรตี ปาปา (อาระตี วิระตี ปาปา) ]
· มงคลที่ ๒๐ สำรวมจากการดื่มน้ำเมา [ มชฺชปานา จ สญฺญโม (มัชชะปานา จะ สัญญะโม) ]
· มงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม [ อปฺปมาโท จ ธมฺเมสุ (อัปปะมา่โท จะ ธัมเมสุ) ]

มลคลหมู่ที่ ๗ - การแสวงหาธรรมะเบื้องต้นใส่ตัว

· มงคลที่ ๒๒ มีความเคารพ [ คารโว จ (คาระโว จะ) ]
· มงคลที่ ๒๓ มีความถ่อมตน [ นิวาโต จ (นิวาโต จะ) ]
· มงคลที่ ๒๔ มีความสันโดษ [ สนฺตุฏฺฐี จ (สันตุฏฺะฐี จะ) ]
· มงคลที่ ๒๕ มีความกตัญญู [ กตญฺญุตา (กะตัญญุตา) ]
· มงคลที่ ๒๖ ฟังธรรมตามกาล [ กาเลน ธมฺมสฺสวนํ (กาเลนะ ธัมมัสสะวะนัง) ]


มลคลหมู่ที่ ๘ - การแสวงหาธรรมะเบื้องสูงใส่ตัวให้เต็มที่

· มงคลที่ ๒๗ มีความอดทน [ ขนฺตี จ (ขันตี จะ) ]
· มงคลที่ ๒๘ เป็นคนว่าง่าย [ โสวจสฺสตา (โสวะจัสสะตา) ]
· มงคลที่ ๒๙ เห็นสมณะ [ สมณานญฺจ ทสฺสนํ (สะมะณานัญจะ ทัสสะนัง) ]
· มงคลที่ ๓๐ สนทนาธรรมตามกาล [ กาเลน ธมฺมสากจฺฉา (กาเลนะ ธัมมะสากัจฉา) ]

มลคลหมู่ที่ ๙ - การฝึกภาคปฏิบัติเพื่อกำจัดกิเลสให้สิ้นไป

· มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ [ ตโป จ (ตะโป จะ) ]
· มงคลที่ ๓๒ ประพฤติพรหมจรรย์ [ พฺรหฺมจริยญฺจ (พรัหมะจะริยัญจะ) ]
· มงคลที่ ๓๓ เห็นอริยสัจ [ อริยสจฺจานทสฺสน (อะริยะสัจจานะทัสสะนะ) ]
· มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง [ นิพฺพานสจฺฉิกิริยา จ (นิพพานะสัจฉิกิริยา จะ) ]

มลคลหมู่ที่ ๑๐ - ผลจากการปฏิบัติตนจนหมดกิเลส

· มงคลที่ ๓๕ จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม [ ผุฏฺฐสฺส โลกธมฺเมหิ จิตฺตํ ยสฺส น กมฺปต (ผุฏฺฐัสสะ โลกะธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะ นะ กัมปะตะ) ]
· มงคลที่ ๓๖ จิตไม่โศก [ อโสกํ (อะโสกัง) ]
· มงคลที่ ๓๗ จิตปราศจากธุลี [ วิรชํ (วิระชัง) ]

ธุลี คือ กิเลส(สภาพที่ทำให้จิตเศร้าหมอง ย่อมไม่ติดอยู่ในจิตที่ฝึกดีแล้ว เหมือนหยาดน้ำไม่ติดอยู่บนใบบัว)จิตทีฝึกฝนดีแล้วย่อมหลุดพ้นไม่พัวพันอยู่กับกิเลสทั้งปวง เป็นจิตที่ปลอดโปร่งเป็นอิสรเสรีและมีศักยภาพสูงสุด เป็นจิตที่นำเอาความสงบร่มเย็นที่ยั่งยืนมาสู่โลก
มงคลที่ ๓๘ จิตเกษม [ เขมํ (เขมัง) ]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น


จำนวนการดูหน้าเว็บรวม